March 19, 2012

พจญภัย

               วันนี้เป็นครั้งแรกครับที่ผมกับเมท(ชั่วคราว)ของผม ได้ผจญภัยในเมืองหลวงของดัดจริตแลนด์แห่งนี้ฮัฟ ความรู้สึกมันหวั่นๆ น่ะ เพราะปกติก็เคยแต่สัมผัสแอร์เย็นๆใน taxi เท่านั้น ยังไม่เคยได้ลองนั่งรถสาธารณะราคาประหยัดกับเค้า (อันที่จริงไม่ใช่อะไรหรอกครับ ผมนั่งไม่ถูก - -')
               เอนทรีนี้ เลยขอมา memorize เส้นทาง ราคาตั๋วรถโดยสารไว้สักนิดครับ


เป้าหมาย จากหน้าหอ(ลาดปลาเค้า 52) ไป สยาม

ขาไป :
  • สองแถว(คันใหญ่)  จากหน้าหอ(ลาดปลาเค้า 52) ไป ตลาดบางเขน(สุดสาย)................... 6 บาท
  • รถเมล์ปรับอากาศ(ปอ.) สาย 60 จากหน้าตลาดบางเขน ไป อนุเสาวรีย์(สุดสาย).............. 13 บาท
  • BTS นั่งจากสถานีอนุเสาวรีย์ ไปลงสถานีสยาม .......................................................... 25 บาท


ขากลับ :
  • รถเมล์ร้อนจากป้ายหน้าอร่ามศรี พญาไทย ไป อนุเสาวรีย์............................................ 6.50 บาท
  • รถเมล์ปรับอากาศ(ปอ.) สาย 39 จากอนุเสาวรีย์ ไป หน้าตลาดบางเขน ............................ 13 บาท
  • ซูบารุ(กะป้อเล็ก คล้ายๆตุ๊กๆ) จากหน้าตลาดบางเขน ไปปากซอยลาดปลาเค้า ................. 10 บาท
 

               ฮาตอนนั่งซูบารุนี่แหล่ะ เพราะผมดันนั่งผิดคันซะงั้น จริงๆต้องนั่งคันที่เขียนว่า ลาดปลาเค้า(ตัวย่อตัว K) แต่ผมไม่ทันดู ดันไปนั่งสายเสนานิคมซะงั้น(ตัวย่อตัว T) นั่งไปจนสุดสาย พี่โชเฟอร์บอก "สุดสายแล้วน้อง!" ผมสตั้นท์ไปสามวิ "เวร! นั่งผิดสายอีกแระ ห้าๆ" แต่พี่โชเฟอร์ใจดีครับ อุตส่าห์ขับอ้อมมาส่งให้ที่หน้าปากซอยลาดปลาเค้า ใจดีมากครับ ขอบคุณมากเลยแหล่ะ แต่ผมก็ต้องเดินกลับเข้าหออีกประมาณ 1 กิโล กลับเข้าหอ (โอ้แม่เจ้า แต่ไม่มีปัญหาครับ เพราะเป็นสายที่ผมใช้เดินไปทำงาน ไปกินข้าว เลยพอชำนาญเส้นทางในระดับนึงครับ) ถือว่าออกกำลังกายแล้วกัน ฮา


สิริรวมราคาทั้งหมดทั้งสิ้น เป็นเงิน 73 บาท 50 สตางค์
โดยราคา taxi เฉพาะขาไป ประมาณ 135 บาท ถ้าไปกลับรวมแล้ว 270 บาท
ทำให้เราประหยัดไปได้ถึง 196.50 บาทเชียว อัยยะ!!

สิ่งที่ได้จากการเดินทางในครั้งนี้ นอกจากความประหยัด ที่ช่วยประหยัดสตางค์ในกระเป๋าแล้ว
มันทำให้ผมมองเห็นมุมดีๆในกรุงเทพมหานครแห่งดัดจริตแลนด์แห่งนี้อีกด้วย
ทุกครั้งที่ผมถามเส้นทาง สายรถเมล์ หรืออะไรก็ตามแต่
สิ่งหนึ่งที่ยังเห็นได้เสมอ คือ "รอยยิ้ม" และ "ความใจดี" ที่ผมได้รับทุกๆครั้งที่เอ่ยปากถาม

มันทำให้เห็นว่า "ท่ามกลางความวุ่นวายเร่งรีบของชีวิตคนกรุงเทพ รอยยิ้มและน้ำใจ ยังมีให้เห็นได้เสมอ แม้มันจะน้อยนิดจนหาแทบไม่ได้แล้วในสังคมทุกวันนี้"

กูจะโลกสวยไปไหนว่ะแสรด


โต้
19/03/2012

March 17, 2012

ความเชื่อ


วันนี้เจอบทความเล็กน้อยๆของ สเด็จพ่ออนันดาแห่งกายหยาบ มาครับ
เห็นว่ามัน "ใช่" และหลายคนเองก็ไม่เคยนึกถึงจุดนี้มาก่อน เลยเอามาฝากให้ทุกคนครับ
 ขออนุญาตคงเนื้อหาไว้โดยไม่เปลี่ยนแปลงน่ะครับ (มีคำหยาบนิดหน่อย)





            สมัยเรียนผมมีเพื่อนคนหนึ่ง แม่งเป็นเด็กเรียนในห้องผม เลิกเรียนมันจะกลับไปอ่านบทเรียนล่วงหน้าเสมอ แน่นอนครับว่ามันมีคนแบบนี้อยู่บน โลกจริงๆ ผมเจอมากับตัวเอง แต่หากถามว่า ที่มันอ่านล่วงหน้าเนี่ย เพื่ออะไร เพื่อความรู้ เพื่อตัวเองจะได้ฉลาด ทำข้อสอบได้ งั้นเหรอ ?? พวกนี้แม่งส่วนรอง ประเด็นหลักของมันคือ
"กูอ่านล่วงหน้าเพื่อที่คาบเรียนต่อไปกูจะได้มีอะไรเถียงอาจารย์" 
... มันชื่อไอ้แมน 
ไอ้แมนเป็นเด็กเรียนเด็กเนิร์ดที่กวนส้นตีนมาก มันเป็นเด็กเรียนที่ชอบแก้เผ็ดอาจารย์ด้วยการเถียงแบบวิชาการ ทุกคำพูดที่อาจารย์พูด อย่าได้มีอะไรผิดแม้แต่นิดเดียว แม่งเถียงกันเอาเป็นเอาตายไปข้างว่าที่กูอ่านมามันไม่ใช่แบบนี้ ผมถามมันว่า "ไอ้แมน ทำไมมึงชอบเถียงอาจารย์วะ" ไอ้แมนบอกผมว่า ...

"เด็กนักเรียนแทบทุกคนไม่กล้าเถียงอาจารย์ อาจารย์จึงลำพองว่าทุกอย่างที่ตัวเองพูดถูกเสมอ ทั้งๆที่บางครั้งการสอนนั้นก็ผิด ไม่ใช่เรื่องถูกเป๊ะไปทุกเรื่องหรอก ไม่เชื่อมึงลองไปอ่านล่วงหน้ามาสิ บางวันก็ไม่ตรงในหนังสือ พอยกมือถามยกมือแย้งก็ไม่พอใจ พวกอาจารย์นี่จะอีโก้สูง คิดว่าตัวเองถูกแน่นอน หารู้ไม่ ที่กูอ่านหนังสือล่วงหน้าเนี่ย หลายคาบเลยที่อาจารย์สอนไม่ตรงตามตำรา ถ้ากูไม่เถียง พวกมึงก็จะได้รับความรู้ที่ไม่ถูกต้องตามตำราไป กูรู้ว่าโดยรวมมันก็จะออกมาถูก แต่สอนผิดจากตำราไป กูเชื่อคนเขียนตำรามากกว่านะ กูเลยต้องเถียงเพื่อการเรียนการสอนที่ดีขึ้น"

ทุกวันนี้ ไอ้แมนแม่งเป็นอาจารย์สอนอยู่ราชมงคลแห่งหนึ่ง... ผมหวังลึกๆว่าขอให้มีนักศึกษาซักคนเถียงแม่งแบบที่แม่งเคยทำ การศึกษาเราจะได้พัฒนาแม่งยิ่งๆขึ้นไป แต่ผมว่าไอ้แมนแม่งเซฟตัวเองดี แม่งไม่พลาดหรอก

by เสด็จพ่ออนันดา




ได้อ่านแล้วก็คิดได้ "เออ จริงแฮะ"
บางครั้ง การวิจารณ์ การโต้แย้ง นี่แหล่ะ คือบ่อเกิดของปัญญา
จงอย่ากลัวที่จะโต้แย้ง จงอย่ากลัวที่จะวิจารณ์ แต่จงโต้แย้งและวิจารณ์ด้วยปัญญาและข้อเท็จจริง


ไม่ใช่สักแต่พูดๆ สักแต่เถียงๆ ว่าเออกุรู้น่ะ กุเมพน่ะ อันนี้มันไม่ใช่ อันนี้มันมั่ว ทั้งที่จริงมรึงเองก็ไม่ได้รู้อะไรมากกะเค้าน่ะหรอก




March 07, 2012

นิทานเซน : มิอาจปล่อยวาง


        ยังมีอุบาสกผู้หนึ่ง ไปปรึกษาอาจารย์เซนถึงวิถีแห่งเซนที่เขายังมีอาจข้ามผ่าน โดยเอ่ยถึงปัญหาของตนเองว่า "ท่านอาจารย์ จะทำอย่างไรดี กระผมมิอาจปล่อยวางเรื่องบางเรื่อง มิอาจปล่อยวางจากคนบางคน?"
      
       อาจารย์เซนตอบว่า "ทุกสิ่งล้วนสามารถปล่อยวาง"
      
       อุบาสกแย้งว่า "ไม่ว่าจะทำอย่างไร ก็ยังคงมีสิ่งที่กระผมปล่อยวางไม้ได้"
      
       อาจารย์เซนจึงบอกให้อุบาสกผู้นี้ถือถ้วยชาใบหนึ่งไว้ในมือ จากนั้นอาจารย์เซนจึงรินน้ำชาร้อนๆ ลงไปในถ้วย รินลงไปจนน้ำชาล้นถ้วยออกมารดมือของอุบาสกที่ถืออยู่ เมื่อโดนน้ำชาร้อนลวกมือ อุบาสกจึงต้องปล่อยถ้วยชาลงพื้น
      
       ยามนั้นอาจารย์เซนจึงสอนว่า "ในโลกนี้ไม่มีสิ่งใดที่ไม่อาจละวางได้ เมื่อเกิดทุกข์ ย่อมยอมปล่อยวางโดยธรรมชาติ"
      
       ปัญญาเซน : ละวางได้จึงไร้ทุกข์



ที่มา : http://manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9550000029728 via @ASTVManager